เช็คความคืบหน้า “วัคซีนโควิด” ซิโนแวค กระจายล็อตแรก 13 จังหวัด ล็อต2-3เพิ่มอีก 5 จังหวัด รวมกระจายให้ 18จังหวัด
วัคซีนโควิด-19 สำหรับประเทศไทย ในช่วงแรกก.พ.- เม.ย.2564 จะเป็นวัคซีนซิโนแวค 2 ล้านโดส โดยจะเข้ามาในวันที่ 24 ก.พ.นี้ 2 แสนโดสแรก เดือนมี.ค. 8 แสนโดส เดือนเม.ย. 1 ล้านโดส ช่วงที่ 2 เดือนมิ.ย.-ส.ค. ของแอสตราเซเนก้า 26 ล้านโดส โดย 6 ล้านโดสเดือนมิ.ย. ,10 ล้านโดสเดือนก.ค. และอีก 10 ล้านโดสเดือนส.ค. และช่วงที่ 3 ก.ย.-ธ.ค. 2564 อีก 35 ล้านโดส ก.ย.-พ.ย. เดือนละ 10 ล้านโดส และธ.ค. 5 ล้านโดส
กลุ่มเป้าหมาย ระยะที่ 1 ประกอบด้วย 1.บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า ทั้งภาครัฐและเอกชน 2.บุคคลที่มีโรคประจำวัน เช่น โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหอบหืดที่ควบคุมได้ไม่ดี เป็นต้น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรังที่อยู่ระยะ 5 ขึ้นไป (ไตวายเรื้อรัง) โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งทุกชนิดที่อยู่ระหว่างเคมีบำบัด รังสีบำบัด และภูมิคุ้มกันบำบัด โรคเบาหวาน โรคอ้วนที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือ BMI มากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร 3.ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป และ4.เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด-19ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย
และระยะที่ 2 เมื่อวัคซีนมากขึ้น และเพียงพอ กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย 1.กลุ่มเป้าหมายในระยะที่ 1 2. บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นๆ ที่นอกเหนือจากด่านหน้า3. ผู้ประกอบอาชีพด้านการท่องเที่ยว เช่น พนักงานโรงแรม สถานบันเทิง มัคคุเทศก์ 4.ผู้เดินทางระหว่างประเทศ เช่น นักบิน ลูกเรือ นักธุรกิจระหว่างประเทศ 5.ประชาชนทั่วไป 6.นักการทูตและเจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศ และ7.แรงงานในภาคอุตสาหกรรม
วัคซีนโควิด-19สำหรับประเทศไทย ในช่วงแรกก.พ.-เม.ย.2564 วัคซีนซิโนแวค 2 ล้านโดส โดยจะเข้ามาในวันที่ 24 ก.พ.นี้ 2 แสนโดสแรก เดือนมี.ค. 8 แสนโดส เดือนเม.ย. 1 ล้านโดส ช่วงที่ 2 เดือนมิ.ย.-ส.ค. ของแอสตราเซเนก้า 26 ล้านโดส โดย 6 ล้านโดสเดือนมิ.ย. ,10 ล้านโดสเดือนก.ค. และอีก 10 ล้านโดสเดือนส.ค. และช่วงที่ 3 ก.ย.-ธ.ค. 2564 อีก 35 ล้านโดส ก.ย.-พ.ย. เดือนละ 10 ล้านโดส และธ.ค. 5 ล้านโดส
13จ.รับวัคซีนล็อตแรก
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า ศบค.ให้ความเห็นชอบแผนกระจายวัคซีน 2 แสนโดสแรก โดยกระจายใน 13 จังหวัด ประกอบด้วย กลุ่มแรก พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 1 จังหวัด คือ สมุทรสาคร จำนวน 70,000 โดส เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 8,000 โดส เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย 6,000 โดส ผู้ที่มีโรคประจำตัว 46,000 โดส และประชาชนทั่วไปและแรงงาน 10,000 โดส กลุ่มที่ 2 พื้นที่ควบคุม 8 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ(ฝั่งตะวันตก) 66,000 โดส เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 12,400 โดส เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย 1,600 โดส ผู้ที่มีโรคประจำตัว 47,000 โดส และประชาชนทั่วไปและแรงงาน 5,000 โดส
ปทุมธานี 8,000 โดส เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 3,000 โดส เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย 2,000 โดส ผู้ที่มีโรคประจำตัว 2,000 โดส และประชาชนทั่วไปและแรงงาน 1,000 โดส นนทบุรี 6,000 โดส เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 2,000 โดส เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย 1,000 โดส ผู้ที่มีโรคประจำตัว 2,000 โดส และประชาชนทั่วไปและแรงงาน 1,000 โดส
สมุทรปราการ 6,000 โดส เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 2,000 โดส เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย 1,000 โดส ผู้ที่มีโรคประจำตัว 2,000 โดส และประชาชนทั่วไปและแรงงาน 1,000 โดส
ตาก (อ.แม่สอด) 5,000 โดส เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 3,000 โดส เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย 2,000 โดส นครปฐม 3,500 โดส เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 2,500 โดส เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย 1,000 โดส สมุทรสงคราม 2,000 โดส เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 1,500 โดส เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย 500 โดส ราชบุรี 2,500 โดส เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 2,000 โดส เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย 500 โดส
และกลุ่มที่ 3 พื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม คือ ชลบุรี 4,700 โดส ภูเก็ต 4,000 โดส อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี 2,500 โดส และจ.เชียงใหม่ 3,500 โดส โดยมอบให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด พิจารณาจัดสรรจำนวนวัคซีนให้แต่ละกลุ่มเป้าหมายตามสถานการณ์และบริบทของพื้นที่ ที่เหลืออีก 16,300 โดสสำหรับควบคุมการระบาดและฉีดให้บุคลากรในรพ.ที่รักษาผู้ป่วยโควิด-19 โดยแต่ละคนจะต้องฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 2 สัปดาห์ ทั้งนี้ ส่วนการวางแผนให้บริการวัคซีนโควิด-19ในรพ. จะให้บริการในรพ. 1,000 แห่ง วันละ 500 โดส เฉลี่ยต่อเดือนฉีดได้ 10 ล้านโดส แต่สัปดาห์แรกจัดบริการในโรงพยาบาล 50 แห่ง เริ่มจาก 100-200 โดสต่อวัน ระยะต่อไปพิจารณาขยายการให้บริการให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ
ในเดือนเมษายน 2564 วัคซีนจำนวน 8 แสนโดสกระจายให้กลุ่มเป้าหมายใน 18 จังหวัด จำนวน 707,000 โดส ได้แก่ สมุทรสาคร 60,000 โดส , กทม. (ฝั่งตะวันตก) 150,000 โดส , ปทุมธานี 64,000 โดส , นนทบุรี 64,000 โดส , สมุทรปราการ 36,000 โดส , ตาก (อ.แม่สอด) 24,000 โดส , ชลบุรี 50,000 โดส , ภูเก็ต 16,000 โดส , สุราษฎร์ธานี (อ.เกาะสมุย) 16,000 โดส , เชียงใหม่ 32,000 โดส , กระบี่ 16,000 โดส , ระยอง 28,000 โดส , จันทบุรี 24,000 โดส , ตราด 24,000 โดส , นครปฐม 28,000 โดส , สมุทรสงคราม 20,000 โดส , ราชบุรี 25,000 โดส และเพชรบุรี 30,000 โดส โดยให้กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับโควิด 19 รวม 217,000 โดส ประชาชน 490,000 โดส และสำรองไว้สำหรับควบคุมการระบาดและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 93,000 โดส
ส่วนในเดือนพฤษภาคม 2564 วัคซีนอีกจำนวน 1 ล้านโดส กระจายให้กลุ่มเป้าหมายใน 18 จังหวัด จำนวน 888,000 โดส ได้แก่ สมุทรสาคร 100,000 โดส , กทม. (ฝั่งตะวันตก) 200,000 โดส , ปทุมธานี 60,000 โดส , นนทบุรี 60,000 โดส , สมุทรปราการ 60,000 โดส , ตาก (อ.แม่สอด) 48,000 โดส , ชลบุรี 48,000 โดส , ภูเก็ต 48,000 โดส , สุราษฎร์ธานี (อ.เกาะสมุย) 16,000 โดส , เชียงใหม่ 48,000 โดส , กระบี่ 16,000 โดส , ระยอง 32,000 โดส , จันทบุรี 24,000 โดส , ตราด 24,000 โดส , นครปฐม 32,000 โดส , สมุทรสงคราม 24,000 โดส , ราชบุรี 32,000 โดส และเพชรบุรี 16,000 โดส โดยให้กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับโควิด 19 รวม 62,000 โดส ประชาชน 846,000 โดส และสำรองไว้สำหรับควบคุมการระบาดและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 112,000 โดส
ส่วนวัคซีนของแอสตราเซนเนก้าที่เป็นการผลิตในต่างประเทศซึ่งเข้ามาราว 1 แสนโดสนั้น มีแผนกระจาย โดยเสริมให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปในพื้นที่สีแดงและสีส้ม 9 จังหวัด ซึ่งวัคซีนของแอสตราฯองค์การอนามัยโลกหรือฮูแนะนำว่าให้ฉีดได้ในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยจะให้ฉีดในประชาชน 50,000 คน เพราะจะให้แต่ละคนได้รับ 2 เข็มโดยให้ตามเวลาที่ห่างกันในแต่ละเข็ม