เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวานเปิดพื้นที่ต้นแบบการรณรงค์ลดการบริโภคหวานซึ่งประสบผลสำเร็จ
ไขมันสีน้ำตาล ทางออกของการลดน้ำหนัก
“สารให้ความหวาน” ให้อะไรมากกว่าแทนน้ำตาล
เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ เป็นพื้นที่ต้นแบบการรณรงค์ลดการบริโภคหวานกับชาวอ่าวลึก ซึ่งดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2553 จนปรากฏผลที่เป็นรูปธรรมครบรอบ 10 ปี เป้าหมายในการสร้างค่านิยมลดการบริโภคหวานอันเป็นสาเหตุของโรคไม่ติดต่อเชื้อรังหรือ NCDs เพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องทุกปี อันเป็นผลมาจากการบริโภคและละเลยการดูแลสุขภาพ โดยได้มีการชับเคลื่อนทั้งในระดับนโยบายสาธารณะ และการทำงานเชิงรุกระดับพื้นที่ทั่วประเทศ เกิดต้นแบบการลดบริโภคหวานในหลายๆ พื้นที่ และยังมีการขับเคลื่อนในระดับนโยบาย เช่น สนับสนุนให้กรมสรรพสามิตเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงเมื่อเดือนตุลาคม 2562 เป็นต้น
พร้อมกันนี้ ยังได้ชมกิจกรรมต้นแบบงานรณรงค์สร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการลดการบริโภคหวาน ที่โรงเรียนบ้านคลองแรด นักเรียนปรุงอาหารกลางวันเพื่อสุขภาพ โดยมีคุณครูเป็นผู้จัดซื้อวัตถุดิบ อาทิ ผัก ผลไม้ และอื่นๆ จากชาวบ้านระแวกโรงเรียน ซึ่งเป็นวัตถุดิบจากชุมชนและอินทรีที่มีคุณภาพ โดยทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 07.00 น. เป็นต้นไป เด็กนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 และชั้นปีที่ 5 จำนวน 5 คน จะอาสามาช่วยครูประกอบอาหารกลางวันตามเมนู Thai School Lunch
ผอ.อมรรัตน์ นาคทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคลองแรด ต.แหลมสัก อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ เปิดเผยว่า วัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารเน้นวัตถุดิบอินทรีมาจากแหล่งชุมชน จากผู้ปกครองนักเรียน และเครือข่ายต่างๆระแวกโรงเรียน ใช้วิธีสั่งจองล่วงหน้า ปรับเปลี่ยนเมนูตามวัตถุดิบที่มี เป็นความร่วมมือกันระหว่างชุมชนเหมือนได้ดูแลเด็กๆ ทำต่อเนื่องมา 10 ปีแล้ว เด็กมีสุขภาพที่ดีขึ้น ค่าเฉลี่ยเด็กในโรงเรียน 100 คน จะมีคนอ้วน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2 ซึ่งอาจจะเป็นพันธุกรรม พร้อมกันนี้ทางโรงเรียนยังจัดกิจกรรมชาเลนจ์ ช่วงเช้าจะมีการออกกำลังกาย หากนักเรียนลดน้ำหนักได้ 1 กิโลกรัม จะได้รับเงิน 200 บาท แต่ต้องลดให้ได้ 5 กิโลกรัมขึ้นไป พร้อมกล่าวต่ออีกว่า เมื่อ 12 ปีที่แล้วก่อนเข้าโครงการอ่อนหวาน เด็กนักเรียนไม่กินผักเลย เขี่ยผักทิ้งใต้โต๊ะ จึงคิดวิธีสอนให้นักเรียนปลูกผักบุ้งด้วยฝีมือตนเอง ทำให้เด็กเกิดความภูมิใจ และกล้ารับประทานผักที่ปลูกขึ้นเอง
นางสมสุข ชัยฤกษ์ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองแรด เปิดเผยว่า ช่วงแรกที่ลูกของตนได้เข้ามาที่โรงเรียนแห่งนี้ ตอนแรกไม่ยอมกินข้าวที่โรงเรียนเลย เพราะกลัวผัก ต้องห่อข้าวมาให้กิน จนได้รับฉายาว่า “ราชินีไข่” เนื่องจากจะนำเมนูไข่มาทานทุกวัน จนคุณครูใช้คำชม กินผัก กินผลไม้แล้วจะสวย กินแล้วจะฉลาด ใช้จิตวิทยาโน้นน้าวใจเด็กให้หักมาทานผัก จนทำให้ลูกของตน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทานผักและผลไม้ได้ ทำให้สุขภาพดีขึ้น ไม่ผอมกระหร่องเหมือนแต่ก่อน นอกจากนี้ยัง คุณครูยังสอนเด็กๆ ให้รู้จักทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเด็กก็นำกลับไปสอนผู้ปกครองที่บ้าน ช่วยทำกับข้าวที่บ้านเป็นการสานสัมพันธ์ในครอบครัว เกิดความสุขที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน และทำให้มีสุขภาพดีตามไปด้วย
ดช.สรณ์สิริ หนองคล้า หรือ น้องนัด นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคลองแรก ซึ่งเป็น 1 ในอาสาสมัครในการทำประกอบอาหาร หน้าที่หลักของน้องนัด คือ การหุงข้าวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้า โดยน้องนัด บอกว่า รู้สึกดีใจที่ได้ทำหน้าที่ตรงนี้ ได้หุงข้าวด้วยฝีมือตนเอง ทำให้เพื่อนๆ มีข้าวอร่อยๆ ทาน
จากนั้นได้เดินทางมาที่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดสถิตย์โพธาราม มาชมแปลงผักที่เป็นวัตถุดิบอาหารกลางวันของเด็กๆ โดยเด็กๆ ได้สาธิตการเก็บผักสดๆ ปลอดภัยไร้สารพิษ เพื่อนำไปประกอบอาหาร และโรงเรียนวัดสถิตย์โพธาราม มีนวัตกรรมเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน เยี่ยมชมแปลงปลูกผัดชนิดต่างๆ บ่อเลี้ยงปลา และเล้าไก่ไข่ เพื่อเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบอาหารกลางวันของนักเรียน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการเรียนรู้ด้านทันตสุขภาพ โดยได้บูรณาการในสาระการเรียนรู้ให้เข้ากับหลักสูตรประถมศึกษา รูปแบบ Learning by playing เรียนรู้ผ่านการเล่น นวัตกรรมการสอนให้ความรู้กับนักเรียน อาทิ บิงโกอาหาร 3 สี เพื่อให้เด็กๆ รู้สึกประโยชน์ของอาหารประเภทต่างๆ ในการเล่นเกม พร้อมสอดแทรกความรู้ เพื่อให้สามารถประยุคใช้กับชีวิตประจำวันในการเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพได้
นายมิตร คำเลี้ยง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสถิตโพธาราม กล่าวว่า ตามที่เข้าร่วมโครงการลดการบริโภคหวานของเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ได้มีการประชุมผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ ซึ่งทุกคนยินยอมที่จะร่วมกันผลักดัน ทางโรงเรียนจึงเริ่มที่ไม่ให้มีแม่ค้าขายอาหารในโรงเรียน ขอความร่วมมือผู้ปกครองสมทบเงินวันละ 10 บาท เพื่อเป็นค่าผลไม้ให้บริการแทนการกินขนม เด็กที่นี่จะได้กินผลไม้ 4วัน และอีกหนึ่งวันจะเป็นขนมหวานไทยแบบหวานน้อย ส่วนเมนูอาหารแน่นอนว่าต้องไม่หวาน โดยยกเลิกแบบจ้างเหมาที่ทำมาจากที่บ้าน โดยให้มาทำที่โรงเรียน โดยครูเวรจะเป็นคนจัดหาวัตถุดิบให้ ซึ่งบางอย่างก็ได้จากชุมชน ที่จำหน่ายให้ราคาถูกเพื่อช่วยเหลือโรงเรียนและให้ลูกหลานได้กินของดี เช่น อาหารทะเลมีความสด ไม่มีสารฟอร์มาลีน ขอความร่วมมือให้เด็กงดซื้อขนมที่มีขายหน้าโรงเรียน ให้เด็กรู้จักฉลาดเลือกบริโภคว่าสิ่งไหนมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ “เราเห็นเด็กมีสุขภาพดีขึ้น ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาดีขึ้น เด็กมีความสุข มีรอยยิ้ม ซึ่งก็เป็นผลมาจากสุขภาพที่ดีจากการบริโภคนั่นเอง”
พร้อมกันนี้ได้เยี่ยมชมต้นแบบ ร้านกาแฟอ่อนหวาน ซึ่งเป็นร้านกาแฟริมทางที่มีเมนูอ่อนหวานให้ผู้บริโภคได้เลือกลิ้มลอง “ร้านกาแฟอ่อนหวาน” “หวานน้อยหรอยได้” ลูกค้าสามารถสั่งเมนูเครื่องดื่มหวานตามระดับได้ ที่ร้านต้นปีสมูทตี้ โดย น.ส.สุพรรณี สิงห์อินทร์ เปิดเผยว่า เปิดร้านมาได้ประมาณ 2 ปี หลังจากเข้าร่วมโคงการร้านกาแฟอ่อนหวาน ก็เริ่มเปลี่ยนเป็นเฮลท์ตี้ช้อยซ์ เพื่อให้ลูกค้าได้เลือกเมนูหลากหลายมากขึ้น และคิดค้นเมนูเพื่อสุขภาพโดยใช้ผลไม้สดและอีกหลากหลายเมนู ทำให้คนเริ่มหันมาดื่มกันมากขึ้น และลูกค้ามั่นใจกับโครงการคนอ่าวลึกไร้พุง หวานน้อย สั่งได้ บวกกับมีการขายเดลิเวอรี่ ทำให้ขายดีขึ้น 3-4 เท่าจากปกติ
ทพญ ปิยะดา ประเสริฐสม ผู้จัดการโครงการเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ผู้อำนวยการสำนักทันตสาธารณสุข รักษาการในตำแหน่งทันตแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านทันตสาธารณสุข) กล่าวว่า ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวานได้รณรงค์สร้างความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคหวานของคนในสังคมต้องมาอย่างต่อเนื่องในทุกโอกาสและช่องทาง ซึ่งประเทศไทยก็ได้รับคำชื่นชมจากนานาประเทศ โดยเฉพาะความกล้าหาญในการจัดการด้านภาษี เพื่อให้คนในประเทศบริโภคหวานน้อยลง ผู้จัดการโครงการเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ย้ำในเรื่องของการบริโภคหวานมากเกินไปว่า ผู้บริโภคต้องตระหนักรู้ว่าการกินหวานมากเกินไปจะเป็นโทษต่อร่างกาย เป็นที่มาของโรคภัยต่างๆ ทั้งโรคอ้วน เบาหวานความดัน หรือโรค NCDs มากันครบ โรคพวกพวกนี้ เป็นง่าย แต่ตายยาก ถ้าคนในครอบครัวมีใครเป็น ก็ต้องเสียเวลามาแลสมาชิกในครอบครัวอีก อย่างคนเป็นเบาหวานต้องกินยาตลอดชีวิตและต้องระมัดระวังตัวตลอดเวลาเวลา ดังนั้นผลิตภัณฑ์ะไรที่ไม่ดีสุขภาพก็ควรจะลดการบริโภคลง”เราต้องรู้ก่อนว่ากินหวานแล้วอ้วนเรื่องนี้สำคัญ จากนั้นก็จะนำไปสู่เรื่องของการจัดสิ่งแวดล้อมในบ้านต้องไม่มีสิ่งของที่เรียกว่าของหวานอยู่ในตู้เย็น เมื่อเริ่มได้แบบนี้แล้ว ความรู้ที่มีก็จะส่งต่อไปยังซุมชนทำกติการ่วมกัน หรือจัดสิ่งแวดล้อมไม่ให้เอื้อต่อการกินหวาน อย่างในโรงเรียนก็อย่าให้มีน้ำอัดลมและขนมกรุบกรอบขาย เป็นต้น” เด็กไทยไม่กินหวานจึงให้สำคัญกับการสร้างความรู้แก่ประชาชน โดยทำงานร่วมกับชุมชน โรงเรียนทั่วประเทศอย่างที่อำเภอฮาวลึก จ.กระบี่ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2553 จนประสบความสำเร็จสามารถประกาศว่าชาว “อ่าวลึกไร้พุง” และกำลังทำให้ “อ่าวลึกอ่อนหวาน” ทั้งอำเกอ
ทพญ.บุษา ภู่วัฒนา หัวหน้ากลุ่มทันตกรรม รพ.อ่าวลึก คนขับเคลื่อนสำคัญของเครือข่ายเด็กไทยไม่จังหวัดกระบี่ กล่าวว่า งานทันตกรรมหากมองแค่เรื่องฟันมันเป็นประเด็นน้อยมากว่า อะไรบ้างละที่ส่งผลกระทบต่อฟัน ก็จะเป็นเรื่องของการกิน โดยเฉพาะการกินหวาน ซึ่งไม่เพียงแต่ฟันผุ ยังส่งผลให้เกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน อีกด้วย เราจึงรุกขับเคลื่อนอย่างจริงจัง และเข้าร่วมทำงานกับเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ด้วยการขับเคลื่อน 3 ภาคส่วน คือ ชุมชน โรงเรียน ครอบครัวรวมไปถึงส่วนราชการหรือท้องถิ่น มีการจัดการให้ความรู้ในสถานศึกษา พัฒนานโยบายสาธารณะและรณรงค์สร้างกระแสในการสื่อสารสาธารณะ โดยโรงเรียนเริ่มจากนโยบายหลัก คือ “โรงเรียนปลอดน้ำอัดลมและขนมกรุบกรอบ” สนับสนุนให้ดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำหวาน มีการจัดทำโรงอาหารอ่อนหวาน กิจกรรมยุวทูตอ่อนหวาน ผลิตสื่อเรียนรู้เพื่อลดการทานหวาน เช่น บิงโก 3 สี มีนิทรรศการระหว่างกลุ่มโรงเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หลังจากดำเนินการมาจนสำเร็จจึงมาขยายผลไปยังเรื่อง “อาหารปลอดภัยในโรงเรียน” ให้เด็กรู้จักการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ รณรงค์การบริโภคผักโดยการส่งเสริมการสร้างแหล่งอาหารในโรงเรียน มีการปลูกผักเพื่อนำมาเป็นอาหาร และการนำเอาพืชผัก หรือ วัตถุดิบจากชุมชนมาที่โรงเรียน เช่นเดียวกับการส่งต่อเรื่องการปริโภคอาหารปลอดภัยไปยังชุมชน ซึ่งได้ผลดอบรับดีมาก เพราะบางชุมชน เริ่มมีตลาดนัดชุมชน ตลาดสีเขียวบ้างแล้ว
ในส่วนของการขับเคลื่อนระดับชุมชนนั้น มีการจัด “มหกรรมคนอ่าวลึกไร้พุง” มาตั้งแต่ปี 2552 มีกิจกรรมเดินวิ่งเพื่อสุขภาพ งานทันตกรรม และเรื่องอาหาร เช่นเดียวกับการผลิตน้ำดื่มสะอาด เพื่อนำไปจำหน่ายตามสถานที่ต่าง ชวยรณรงค์ดื่มน้ำเปาแทนน้ำหวาน ด้วย สโลแกน “เปล่านะ เปล่านะ” มีการขอความร่วมมีอร้านกาแฟเครื่องดื่ม ให้มีเมนูอ่อนหวานเพื่อสุขภาพ “ร้านกาแฟอ่อนหวาน” “หวานน้อยหรอยได้” ลูกค้าสามารถสั่งเมนูเครื่องดื่มหวานตามระดับได้ และปี 2562 จะเป็นการรณรงค์ “หวานน้อยสั่งได้” ตามแคมเปญของเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน
ในส่วนระดับนโนบายนั้น ทพญ.บุษบา เปิดเผยว่า ได้มีการรณรงค์อย่างจริงจังในส่วนราชการ ในการส่งเสริมให้มีเมนูเพื่อสุขภาพในการประชุมหน่วยงานราชการ จนนายอำเภออ่าวลึก ได้นำไปเป็นนโยบายให้ทุกหน่วยงานราชการจะต้องจัดอาหารว่างสุขภาพ หรือ Healthy Meeting ด้วยค่าพลังงานไม่เกิน 200 แคลอรี่ การสร้างคำนิยมไม่กินหวาน จะได้ผลมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล และหากเริ่มตั้งแต่วัยเยาว์แน่นอนว่าการรณรงค์จะไม่สูญเปล่าอย่างแน่นอน